“คลองหลวงแพ่ง” เป็นเส้นแบ่งระหว่างกรุงเทพฯ และ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นชื่อคลองขุดที่ตัดขวางมาบรรจบเป็นสามแยกที่คลองประเวศบุรีรมย์ และเนื่องจากตลาดแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณสามแยกปากคลองหลวง-แพ่ง จึงได้ชื่อว่า “ตลาดหลวงแพ่ง” แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่บ่งชัดว่าใครเป็นผู้ขุดคลองแห่งนี้ แต่คลองประเวศบุรีรมย์ตามประวัติได้กล่าวไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นในปี พ.ศ. 2421 โดยเป็นคลองที่ขุดขึ้นต่อจากคลองพระโขนงไปเชื่อมกับคลองด่าน จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาที่ดินบริเวณริมคลองประเวศบุรีรมย์ไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงมีการขุดแยกออกมาอีก 4 คลอง คือ คลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม และคลองสี่ รวมระยะทางทั้งสิ้น 46 กิโลเมตร สำหรับในด้านการท่องเที่ยวริมคลองประเวศบุรีรมย์ในเขตลาดกระบังมีตลาดเก่าแก่อายุร้อยกว่าปีให้ไปเดินเที่ยวชมบรรยากาศของตลาด และบ้านเรือนเก่าแก่ริมน้ำคือ “ตลาดหัวแพ่ง”
ตลาดหลวงแพ่งจะเรียกตลาดห้องแถวทั้งสองฝั่งคลองทั้งฝั่งใต้และฝั่งเหนือ ในอดีตตลาดแห่งนี้รุ่งเรืองมากเรียกได้ว่ามีร้านค้า 100 ห้องก็เต็มทุกห้อง ค้าขายของกินของใช้ ร้านทองในย่านนี้มีมากกว่า 10 ร้าน มีเรือมาจอดเทียบฝั่งคึกคักทั้งกลางวันและกลางคืน ทว่า เมื่อถนนตัดผ่าน
การคมนาคมทางเรือจึงไม่ค่อยได้รับความนิยม ความเฟื่องฟูจึงกลายเป็นอดีต ความคึกครื้นจึงเหลือเพียงเสียงเพลงเก่าที่ยังคงเปิดอยู่ในบางคูหาเท่านั้น
source : นางสาวญาณี เงาแก้ว
นาวสางฐิติชญา ลิ้มสุเวช
นางสาวนรีรัตน อัศวด้วงเหมือน
นางสาวนาฎอนงค์ จันทร์ขอนแก่น
นางสาวปุณชรัฎฐ์ ฉัตรฐานันท์
นาวสาวภัทรียา ชุกานี่
นายวีรัฐ คุณนิรันดร
นางสาวศรุตา วารายานนท์